วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของขุยมะพร้าว

         เป็นวัสดุที่มีความจำเป็นในการขยายพันธุ์พืชในยุคปัจจุบันนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีคุณสมบัติทางการเกษตรอย่างมากมายอาทิ เช่น
       1. การผสมเป็นปุ๋ยหมัก ปลูกพืชผัก ต้นไม้ ดอกไม้กระถาง
        2. ดินทรายช่วยอุ้มน้ำได้ดี ส่วนดินเหนียวช่วยซับน้ำได้ดี
       3. ผสมเป็นดินเพาะปลูก ไม้กระถาง ที่ท่านชื่นชอบ
       4. ใช้ในการขยายพันธุ์พืชทุกชนิด ทุกวิธี
             4.1 การขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศ ใช้เพาะเมล็ด พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ ประสิทธิภาพการงอกดีงาม
          4.2 การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ เช่น
                   - ตุ้มขุยมะพร้าว ใช้ในการตอนพืช (การตอน)
                   - ตุ้มรากต้นตอ ใช้ในการทาบกิ่ง (การทาบกิ่ง)
                   - ผสมดินหมัก ดินทรายหรือแกลบดำใช้ปักชำ (การปักชำ)
                   - ผสมกับดินปลูก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือแกลบดำใช้ในการโน้มกิ่ง (การโน้มกิ่ง)
                   - ผสมดินปลูก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือแกลบดำใช้ในการแบ่งหน่อแยกหน่อ(การแยกหน่อ)
                   - ผสมกับดินปลูก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือแกลบดำใส่ให้กับต้นพืชที่จะติดตาเพื่อให้กิ่งหรือต้นอวบอ้วนเพื่อใช้ในการติดตา (การติดตา)
                   - ผสมกับดินปลูก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือแกลบดำใส่ให้กับต้นพืชที่จะทำการเสียบกิ่งทำให้กิ่งหรือต้นอวบอ้วนเพื่อใช้ในการเสียบกิ่ง ต่อยอด เสียบข้าง (การเสียบกิ่ง)
ตัวอย่าง
ดินปลูกผสมมูลไส้เดือน ตรา "รถไฟ" ซึ่งมีส่วนผสมของขุยมะพร้าวรวมอยู่ด้วย

แท่งอัดขุยมะพร้าว


วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของใยมะพร้าว

           เส้นใยแข็งที่ได้มาจากกาบมะพร้าว จะเรียกว่า “ใยมะพร้าว”  ด้วยเส้นใยที่มีลักษณะเฉพาะทางธรรมชาติ เป็นเส้นใยที่หยุ่นเหนียว แข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติจึงสามารถทำลายได้ง่าย ดังนั้นใยมะพร้าวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ เช่น

          • ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในสินค้าประเภทที่นอนเพื่อสุขภาพ และเตียงนอนของโรงพยาบาล เนื่องจากมีคุณสบบัติของการหมุนเวียนอากาศสูง
          • ใช้เป็นฉนวนในการดูดซับเสียงสำหรับห้องบันทึกเสียงและระบบเสียงในลำโพง ผลิตเป็นวัสดุป้องกันการกระเทือน
          • ใช้ผลิตเป็นวัสดุป้องกันการกระเทือน เหมาะสำหรับสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ เช่นเป็นวัสดุภายในที่นั่งโดยสารบนเครื่องบินโดยสาร และเบาะนั่งในรถยนต์ชั้นหนึ่ง
          • ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่นการใช้เป็นฐานรองเพื่อการยึดเกาะของต้นกล้า และต้นกล้วยไม้ หรือใช้แทนหญ้าและฟางคลุมพื้นดินรอบ ๆ ต้นไม้ เพื่อรักษาความชื้น
          • ใช้ปกคลุมที่โล่งและแท่นที-ออฟ ของสนามกอล์ฟเพื่อเก็บกักความชื้น และรักษาพื้นหญ้าให้เขียวชอุ่ม
          • ในต่างประเทศ ม้วนใยมะพร้าวสามารถนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการพังทลายของดินริมตลิ่ง หรือเป็นเขื่อนป้องกันการซัดของคลื่นริมแม่น้ำ
          • ใช้ผลิตเชือกเกลียวที่มีความเหนียว แข็งแรง ทนทาน มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเชือกปอ
          • ใช้ผลิตแปรง ไม้กวาด และพรมเก็บดักฝุ่นภายนอกอาคาร ซึ่งพรมใยมะพร้าวจะมีอายุการใช้งานยาวนาน
          • ใช้ผลิตเป็นแผ่นกรองหยาบ เช่น ฝุ่นเหนียว ฟิงโคท สีฝุ่น เรซิน กาว ยางมะตอย ฯลฯ
          • ใช้ผลิตเป็นส่วนประกอบของอิฐมวลเบา
          • ใช้ผลิตเป็นแผ่นกรองหยาบ เช่น ฝุ่นเหนียว ฟิงโคท สีฝุ่น เรซิน กาว ยางมะตอย ฯลฯ
          • เศษเหลือจากการผลิตใยมะพร้าวเรียกว่า “ขุยมะพร้าว” มีลักษณะเป็น เศษใยมะพร้าวเส้นสั้น ๆ เศษขุยและเศษผงจากกาบมะพร้าว ซึ่งขุยมะพร้าวนี้สามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในการทำปุ๋ยแล้ว และเชื้อเพลิงชีวมวลได้ เป็นอย่างดี

ตัวอย่างสินค้า

ตะกร้าใยมะพร้าว


พรมเช็ดเท้าใยมะพร้าว


ไม้กวาดจากใยมะพร้าว


ที่นอนใยมะพร้าว





วิธีการทำงาน

1. รับซื้อเปลือกมะพร้าวมาจากข้างนอก
  
2. นำเปลือกมะพร้าวใส่สายพานและสายพานก็จะนำพาเปลือกมะพร้าวลงหม้อ ซึ่งในหม้อก็จะมีใบมีดเพื่อแยกส่วนประกอบของเปลือกมะพร้าว

*ขออภัยเนื่องจากขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของเครื่องจักรซึ่งทางผู้ประกอบการได้ขอสงวนลิขสิทธิ์ไว้ในการเผยแพร่รูปภาพ


 
3. ผลที่ได้ออกมาก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ขุยมะพร้าวและใยมะพร้าว
ขุยมะพร้าว


ใยมะพร้าว


4. ขุยมะพร้าวที่ได้เราก็จะนำไปเก็บไว้เพื่อส่งออกขายได้เลย





5. ใยมะพร้าวที่ได้เราก็จะนำไปตากแดดให้แห้งก่อน


6. เมื่อใยมะพร้าวแห้งเราก็จะนำไปเข้าเครื่องอัดให้เป็นก้อนเพื่อส่งออกขายต่อไป





วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมา

           เนื่องจากในพื้นที่ตำบลทุ่งคา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนมะพร้าว และมีโรงงานที่มาคอยรับซื้อมะพร้าวจากสวนของชาวบ้าน โดยจะทำการปลอกเปลือกเพื่อขายลูกมะพร้าวทำให้เกิดปัญหาการเพิ่มขึ้นของเปลือกมะพร้าวเนื่องจากมองข้ามความสำคัญของมัน ต่อมาผู้ประกอบการโรงงานภัควัฒน์ใยมะพร้าว๑๖ ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของเปลือกมะพร้าวจึงได้จัดตั้งโรงงานนี้ขึ้นมาและได้ทำการรับซื้อเปลือกมะพร้าวต่อจากโรงงานดังกล่าวเพื่อนำเปลือกมะพร้าวมาแปรรูปและยังเป็นการสร้างอาชีพและรายได้เข้าสู่ชุมชนของตนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังได้รู้จักการนำของเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปอีกด้วย